ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน

      โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ฝ่ายมัธยม ก่อตั้งขึ้นตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (พ.ศ. 2562-2565) ภายใต้นโยบายของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และได้ผ่านมติเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยโดยการจากสภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบในหลักการในการประชุมครั้งที่  3/2563  วันที่ 20 มีนาคม 2563 และมอบหมายให้ รองศาสตราจารย์ ดร.กิติพงษ์  ลือนาม รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ เป็นประธานการดำเนินงานด้านวิชาการ ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ 796/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานขยายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ระดับมัธยมศึกษา โดยมีจุดเน้นให้นักเรียนมีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และทักษะชีวิต มีจิตอาสา ทำงานเป็นทีม และมีจิตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  และเป็นแหล่งปลูกฝังนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์และเป็นนวัตกร ตลอดจนเป็นต้นแบบแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและบริหารการศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่มีมาตรฐานระดับชาติและนานาชาติ และส่งเสริมความสามารถด้านอ่าน คิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ และได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านการเห็นชอบหลักสูตรจากคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา  การประชุมครั้งที่  2/2564 วันที่ 15 ธันวาคม 2564  และได้ผ่านการอนุมัติแผนการรับและอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากคณะกรรมการประจำโรงเรียน การประชุมครั้งที่  4/2564 วันที่  24 ธันวาคม 2564  และให้เปิดรับนักเรียนรุ่นแรกในปีการศึกษา 2565 ใช้อาคาร 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 10 – 11 เป็นอาคารเรียนหลัก มีห้องสำนักงานโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ฝ่ายมัธยม อยู่ชั้น 10 ส่วนห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ใช้ศูนย์วิทยาศาสตร์ และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ได้แก่ อาคาร 27 สำนักคอมพิวเตอร์ สถาบันภาษา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี สนามกีฬา ศูนย์วิจัยฯ 100 ไร่  พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และมาตรฐานตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) กระทรวงศึกษาธิการ มีรูปแบบการร่วมมือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือระหว่างครูประจำโรงเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และอาจารย์ในสาขาวิชาทุกคณะตลอดจนวิทยากรภายนอกที่เชี่ยวชาญในระดับชาติและนานาชาติ ทั้งนี้เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเป็น “คนดี คนเก่งและสามารถดำรงชีวิติในสังคมได้อย่างเป็นสุข”